โดย กวินทร์ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 7 พ.ค. 2554.
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระเนื้อในจะเป็นสีขาว เนื้อมวลสาร หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดง และปิดทองทับ (ปิดทอง ล่องชาด)
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง รูปทรงองค์พระสมส่วนสง่างาม พระพักตร์กลมรี พระเกศจรดซุ้ม พบเส้นพระสอหนา พระอุระนูนกว้างใกล้เคียงกับพระนาภี (พระอุระทรงกระบอก) วงพระพาหาทิ้งรับกับพระกรโค้งสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิกว้างโค้งเว้า เส้นจีวรแข็งชัดเจน ฐานสิงห์คมขวานชัดเจน ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ฐานทั้งสามชั้นสมส่วนสวยงาม ตัดขอบข้าง กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดสวยงามโค้งจรดฐานสมส่วนเสมอขอบ ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ถอดยก แบบสองชิ้นประกบกัน จัด เป็นพิมพ์สมัยใหม่ในยุคท้ายๆ เหมือนพิมพ์ของพระสมเด็จวัดพระแก้ว) ปิดทอง ล่องชาด ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง (ชาดจอแสสีแดง ปิดทับด้วยทองคำเปลวสีดอกบวบ) สภาพสมบูรณ์มากอันเนื่องจากพระยังไม่ได้ผ่านการใช้
- ความหนา ๕ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๔ เซนติเมตร สูง ๓.๖ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ จัดสร้างเป็นกรณีพิเศษ สวยงามที่สุด และหายากที่สุด
ประวัติโดยย่อ พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ) กรุเพดานวิหารวัดระฆัง
จากข้อเขียนของ พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวิน (ซึ่งตรงกับเรื่องเล่าของ พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือ พระอาจารย์จิ้ม กันภัย วัดดงมูลเหล็ก) เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า พระสมเด็จชุดนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ จำนวนหลายพันองค์ เป็นเนื้อผงลงรักปิดทองล่องชาดทั้งสิ้น และเมื่อท่านได้ถึงชีพิตักษัยพระชุดนี้ได้ถูกนำมาเก็บไว้บนเพดานวิหารวัดระฆัง และมิได้มีผู้ใดพบเห็นจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงมีผู้ค้นพบพระชุดนี้ และในปีนี้เองเป็นปีที่ครบ ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านสิ้นชีพิตักษัย ได้มีการค้นพบพระสมเด็จบนเพดานวิหารวัดระฆังเป็นจำนวนมาก มีหลายพิมพ์แต่จะด้วยเหตุใดไม่ปรากฏชัด ทราบแต่เพียงว่าทางวัดไม่ได้มีการบอกกล่าวให้ประชาชนได้ทราบเลย คงรู้กันเฉพาะในหมู่พระภิกษุไม่กี่รูป ช่างที่เข้าไปบูรณะ กรรมการวัดและบุคคลใกล้ชิดเท่านั้น ประจวบกับในขณะนั้นทางวัดได้จัดสร้างพระสมเด็จขึ้นมาใหม่มีพิธีและงานฉลองอย่างมโหฬาร เนื่องเป็นปีที่ครบรอบท่านสิ้นครบ ๑๐๐ ปี (อันจะด้วยเหตุผลนี้ก็เป็นได้)
พระสมเด็จชุดนี้สร้างเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา เพื่อมอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเบื้องต้น นอกจากนั้นก็มอบให้แก่คหบดี และประชาชนโดยทั่วไป การสร้างจึงจัดเป็นวิจิตรศิลป์ โดยใช้พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังซึ่งปัจจุบันเป็นพิมพ์นิยม และพิมพ์อื่นๆ ที่มีความหมายในทางพระพุทธศาสนาเป็นต้น มวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างนั้นจัดได้ว่าเป็นมงคลวัตถุยิ่ง กล่าวคือมีความเป็นมงคลในตัวเองส่วนหนึ่งและผสมกับผงวิเศษอันทรงไว้ด้วยพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างอเนกอนันต์ ส่วนการลงรักปิดทองล่องชาดนั้นถือได้ว่าเป็นประณีตศิลป์ ทองคำเปลวที่นำมาติดนั้นจะสุกอร่ามไม่หมองค้ำ จากฝีมือช่างหลวง (ช่างสิบหมู่) ที่หาชมได้ยากมากในปัจจุบัน
รหัสพระ B001 ให้เช่าบูชา 15,000 บาท
เชิญชม พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด องค์อื่นๆ ได้ที่
http://www.phrasomdej.in.th/index.php/2009-10-10-04-30-18
ศึกษาเพิ่มเติม และค้นหาพระสมเด็จที่ท่านต้องการได้ที่ http://www.phrasomdej.in.th ศูนย์รวมพระสมเด็จ และแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สำหรับผู้ศรัทธา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
สนใจติดต่อ คุณกวินทร์ 084-006-7899
[email protected]